ความเชื่อโบราณในการจัดงานศพ

งานศพจัดขึ้นเพื่อไว้อาลัยแด่ผู้ที่ล่วงลับ แสดงถึงความเคารพความรักความเสียใจถึงบุคคลอันเป็นที่รัก และยังได้อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลนี้ให้กับผู้เสียชีวิตเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะเดินทางสู่สัมปรายภพ สำหรับความเชื่อในเรื่องของการจัดพิธีงานศพตามโบราณมีอะไรบ้างไปดูกัน

ลำดับขั้นตอนในการเตรียมการจัดงานศพและแจกที่ระลึกงานฌาปนกิจ

การเกิดแก่เจ็บตาย เป็นเรื่องที่มนุษย์ทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ไม่มีข้อยกเว้น แม้แต่สิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลกก็มีการเกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งสิ้น แต่หากเป็นคนในครอบครัวคนที่เรารักมาจากไป จะทำใจอย่างไรบ้างไม่ให้ทุกข์จนไม่มีสติในการเดินหน้าใช้ชีวิตต่อ ไปดูกันเลยดีกว่า

  1. การอาบน้ำศพ
    เป็นขั้นตอนในพิธีการจัดงานศพแบบไทย มีมาตั้งแต่สมัยในอดีต เชื่อกันว่าการอาบน้ำศพ จะช่วยให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วได้เดินทางไปสู่ภพภูมิที่ดี มีร่างกายและใจบริสุทธิ์ ในอดีตการอาบน้ำศพจะใช้สบู่ฟอกศพในทุกส่วนของร่างกาย หรือใช้น้ำต้มสมุนไพรอุ่น ๆ มาอาบ จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาดเช็ดให้แห้งแล้วนำขมิ้นมาทาทั่วร่าง สำหรับในปัจจุบันนี้จะปรับเปลี่ยนวิธีการอาบน้ำศพแบบใหม่ โดยไม่ได้ฟอกสบู่หรืออาบด้วยต้มน้ำสมุนไพร แต่จะใช้ น้ำอบผสมดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม เช่น ดอกมะลิไว้สำหรับให้แขกที่มาในงาน ตักเพื่อรดน้ำที่มือของผู้เสียชีวิต และก่อนเผาจะนำมะพร้าวเป็นลูกมาเฉาะแล้วนำน้ำมะพร้าวมาล้างหน้าศพ เป็นกุศโลบายเพื่อให้ผู้ที่ล่วงลับได้ชำระร่างกายให้สะอาดก่อนเดินทางสู่สัมปรายภพ
  2. การหวีผม
    ในสมัยก่อนหลังจากอาบน้ำศพเรียบร้อยแล้ว จะใช้หวีเสนียดในการหวีผมให้กับผู้ล่วงลับ 3 ครั้ง หรือวิธีโบราณดั้งเดิมจะใช้หวีเสนียดซึ่งมี 2 ฝั่ง โดยที่ฝั่งนึงหวีผมไปด้านหน้าและอีกฝั่งนึงหวีผมไปด้านหลัง เชื่อว่าเป็นตัวแทนของผู้ที่ยังอยู่และผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว หลังจากหวีผมเรียบร้อยจะหักหวีเป็น 2 ท่อนเพื่อป้องกันไม่ให้คนที่มีชีวิตอยู่นำหวีไปใช้นั่นเอง และยังเป็นกุศโลบายสอนธรรมะแก่คนที่ยังอยู่ว่า หวีเมื่อใช้แล้วจะต้องถูกหักทิ้ง เปรียบเสมือนการยังมีชีวิตอยู่มีลมหายใจ วันหนึ่งก็จะต้องเสียชีวิตจากกันไปทุกคนเกิดแก่เจ็บตายเป็นของธรรมดา ที่ต้องเรียนรู้และเข้าใจความเป็นไปของสัจธรรม
  3. ใช้เทียนขี้ผึ้งในการตรวจสอบว่าเสียชีวิตจริงหรือไม่
    เนื่องจากว่าสมัยโบราณวิวัฒนาการทางการแพทย์ยังไม่ล้ำสมัย ไม่มีเครื่องมือแพทย์ที่ยืนยันในการเสียชีวิตได้ ซึ่งบางคนลมหายใจแผ่วเบามากๆแต่ยังไม่เสียชีวิตก็มี ดังนั้นภูมิปัญญาของคนโบราณจะใช้เทียนขี้ผึ้ง 1 เล่มมาจุด จากนั้นรอเวลาให้เทียนละลายหมดไปเอง หากว่าคนที่ลมหายใจแผ่วเบาหรือหยุดหายใจไปแล้วไม่ฟื้น ก็แสดงว่าเสียชีวิตแล้วจริงๆ
  4. หมากใส่ปากผู้เสียชีวิต
    เพราะคนสมัยก่อนนิยมเคี้ยวหมาก ดังนั้นจึงนำหมากใส่ไว้ในปากของ ของผู้ล่วงลับเป็นกุศโลบายทางธรรมะ ที่เชื่อกันว่าในระหว่างการเดินทางสู่หลังความตาย จะได้เคี้ยวหมากเพื่อความเพลิดเพลินกับการเดินทางไปสู่ภพใหม่
  5. ประตูป่าสร้างขึ้นเพื่อใช้ในงานศพโดยเฉพาะ
    เมื่อมีคนเสียชีวิตที่บ้าน คนสมัยก่อนจะนำผนังบ้านมาทำเป็นซุ้มประตูป่าในการเคลื่อนย้ายศพโดยหันทางปลายเท้าออกมาทางหน้าบ้าน โดยเชื่อกันว่าไม่ให้ดวงวิญญาณเกิดความห่วงหาและอยากกลับบ้าน หลังจากเคลื่อนย้ายศพพ้นประตูป่าไปแล้วจะรื้อทิ้งทันที ไม่เก็บไว้โดยเด็ดขาด
  6. ใส่เงินไว้ในปากของศพ
    ความเชื่อนี้คนสมัยก่อนจะนำเงินผูกเชือก และใส่ลงไปในปากของผู้เสียชีวิต โดยเชื่อกันว่าวิญญาณสามารถนำเงินนี้ ไปใช้ในเมืองผี แต่ก็แฝงไปด้วยกุศโลบายทางธรรมะที่สอนว่า ในตอนที่ยังมีชีวิตอยู่จะหาเงินได้มากหรือน้อยสักเพียงใดไม่ได้สำคัญเท่ากับว่าตอนเสียชีวิตไปแล้ว ไม่สามารถนำเงินติดตัวไปได้แม้แต่บาทเดียว ตอนมาก็มาแต่ตัวตอนไปก็ไปแต่ตัวเช่นเดียวกัน สอนให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ ไม่ลุ่มหลงไม่ยึดติดกับสิ่งของนอกกาย เมื่อมีให้รู้จักใช้รู้จักเก็บรู้จักออมและแบ่งปันให้กับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ หมั่นทำบุญสร้างกุศล เพราะเมื่อตายไปแล้วสิ่งที่จะนำติดตัวไปได้ 2 อย่าง คือ ความดีและความชั่วเท่านั้น
  7. โปรยข้าวสารข้าวตอก
    พิธีนี้จัดในงานศพของคนไทยในสมัยโบราณ ในการฟาดข้าวสารหรือเข้าวตอกในการขับไล่สิ่งอัปมงคล โดยโปรยลงที่พื้นในระหว่างการเคลื่อนย้ายศพไปวัด กุศโลบายนี้สอนธรรมะว่าข้าวตอกข้าวสารที่โปรยลงสู่พื้นก็ไม่สามารถงอกเงยกลับมาได้ เปรียบเสมือนกับชีวิตเมื่อสิ้นอายุขัยไปแล้วก็ไม่สามารถฟื้นคืนกลับมาใช้ชีวิตต่อ ดังนั้นต้องรู้จักยอมรับความจริง และตั้งใจทำความดี เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับ และสร้างความดีให้ตัวเองตอนที่ยังมีชีวิตอยู่
  8. บันไดศพหรือที่เรียกกันว่าบันไดผี
    ในสมัยก่อนเมื่อจะขนย้ายศพลงจากชานเรือน จะต้องมีบันไดที่สร้างขึ้นใหม่ มีความเชื่อเพื่อไม่ให้วิญญาณกลับเข้ามาในบ้านได้ เพราะบันไดผีได้ถูกทำลายไปแล้ว อีกทั้งสมัยโบราณนิยมปลูกบ้านด้วยไม้เป็นส่วนใหญ่ และพื้นยกสูง ดังนั้นการใช้บันไดเป็นเรื่องปกติของคนยุคเก่า แต่ในสมัยนี้ไม่ได้มีความเชื่อนี้แล้ว
  9. บอกทางวิญญาณให้ไปวัด
    ในระหว่างการเคลื่อนย้ายศพผู้เสียชีวิตไปที่วัด ทางญาติจะบอกเส้นทางว่าตอนนี้ถึงตรงไหนแล้ว เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา เพื่อให้วิญญาณเดินตามร่างของตัวเองจะได้ไม่หลงทาง ความเชื่อนี้ยังมีอยู่ในบางหมู่บ้านสมัยปัจจุบัน
  10. การซัดข้าวสารไล่สิ่งอัปมงคล
    มีความใกล้เคียงกับการโปรยข้าวตอกข้าวสาร ความเชื่อนี้จะทำในระหว่างการขนศพออกจากบ้าน การซัดข้าวสารพร้อมบริกรรมคาถาเป็นการไล่สิ่งอัปมงคลให้ออกจากบ้านไปไม่ให้หลงเหลืออยู่ ทั้งนี้จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการบริกรรมคาถาและทำพิธีนี้
  11. พวงหรีด
    มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่สมัยอารยธรรมยุโรปโบราณ ซึ่งสมัยนั้นจะใช้มงกุฎแกะสลักเป็นรูปใบไม้หรือดอกไม้ ซึ่งมีอายุ 400 ปีก่อนคริสตกาล เพื่อเป็นการไว้อาลัยแด่นักรบผู้เสียสละเพื่อแผ่นดิน ต่อมาในสมัย รัชกาลที่ 5 อารยธรรมตะวันตกได้เผยแผ่เข้ามาในเมืองไทย และมีหลักฐานภาพถ่ายดอกไม้หลายชนิดที่มีลักษณะเป็นวงกลมตั้งในงานพระเมรุของสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตาหรือเจ้าจอมมารดาเปี่ยมพระสนมเอกในรัชกาลที่ 4 เพื่อแสดงความไว้อาลัยและความโศกเศร้าพวงหรีด จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ในการแสดงความเสียใจไว้อาลัยตั้งแต่ชนชั้นสูงไปจนถึงประชาชนทั่วไปนี้
ประเภทของพวงหรีดในยุคปัจจุบัน
  1. ดอกไม้สดสีสันต่างๆ เป็นการแสดงความไว้อาลัยและการจากไปอย่างสุดซึ้ง ซึ่งดอกไม้แต่ละชนิดก็มีความหมายที่ต่างกันออกไป และยังแฝงไปด้วยกุศโลบายทางธรรมะว่าดอกไม้สดแม้มีสวยงามสักเพียงใด เมื่อกาลเวลาผ่านไปก็แห้งเหี่ยวและโรยรา ไม่ต่างกับชีวิตมนุษย์ที่เติบโตขึ้น และใช้ชีวิต จากนั้นเมื่อถึงเวลาก็จะต้องจากโลกนี้ไป
    ข้อจำกัด คือ

    1. ราคาสูง เพราะว่าดอกไม้สดนำเข้ามาจากต่างประเทศ และยังมีค่าฝีมือในการจัดดอกไม้อีก จึงทำให้ดอกไม้สดไว้อาลัยราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ
    2. อยู่ไม่ทน เพราะดอกไม้สดมีระยะเวลาที่คงสภาพ แต่เมื่อจัดงานศพหลายวัน ทำให้ดอกไม้สดเหี่ยว เฉา และเน่าได้ในที่สุด โดยเฉพาะดอกไม้บางประเภทที่เหี่ยวเร็วมาก
    3. ทางเจ้าภาพต้องจัดคนคอยดูแลดอกไม้สด พรมน้ำตลอด แต่บางงานเจ้าภาพไม่มีคนช่วยจึงทำให้ดอกไม้เหี่ยวเร็วกว่าเดิม โดยเฉพาะช่วงอากาศร้อนจัด
    4. สร้างภาระให้กับเจ้าภาพ เมื่อเสร็จพิธี เพราะดอกไม้สดไว้อาลัยมีขนาดใหญ่ เหี่ยวเฉา ก็ต้องนำไปทิ้งนอกวัด เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับวัด
  2. พวงหรีดกระดาษ ช่วยรักษ์โลกรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งหลังจากจบงานแล้วสามารถนำเข้ากระบวนการรีไซเคิลลดขยะได้ อีกทั้งพวงหรีดกระจายบุญกุศลที่ทำมาจากกระดาษ จะมีความคงทน ไม่แห้งเหี่ยว ไม่ช้ำง่ายเหมือนกับดอกไม้สด ไม่เพียงเท่านั้นยังเป็นพวงหรีดที่สั่งแล้วได้บุญเพราะเมื่อคุณสั่งดอกไม้ไว้อาลัยที่ทำมาจากกระดาษ ผลิตโดยคนในชุมชนสร้างงานสร้างรายได้ รักษาสิ่งแวดล้อม รีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่ และพวงหรีดบริจาคนี้คุณสามารถมอบเงินให้กับองค์การกุศลที่เข้าร่วมได้เช่น
    ทำไมควรเลือกดอกไม้กระดาษสำหรับการไว้อาลัยที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน

    • มีความสวยงามไม่แพ้ดอกไม้สด ด้วยฝีมือของคนในชุมชนที่มีความประณีต สวยงาม มีความละเอียด
    • ราคาไม่แพง และรายได้ส่วนหนึ่งนำไปบริจาคให้กับมูลนิธิที่คุณเลือกได้ ซึ่งได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง เช่น
      1. โครงการ good for Good โภชนาการที่ดีคือรากฐานของการเจริญเติบโต ซึ่งเด็กทุกคนควรจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามวัยเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
      2. มูลนิธิศุภนิมิต ในการบริจาคสนับสนุนมื้อเช้า สำหรับเด็กยากไร้เพื่อให้รับสารอาหารที่ครบถ้วนในแต่ละวัน
      3. มูลนิธิเด็กโสสะแห่งประเทศไทย ช่วยเหลือเด็กที่ขาดพ่อแม่ให้เจริญเติบโตอย่างแข็งแรง และสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
      4. โครงการพัฒนาเด็กประถมวัย เพิ่มศักยภาพให้เด็กมีชีวิตชีวาส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อย่างครบวงจร
      5. มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ มอบโอกาสให้เด็กๆ เข้าถึงศักยภาพที่หลากหลาย มีการจัดอาสาสมัครไปสอนตามโรงเรียนและชุมชนต่างๆ
      6. มูลนิธิยุวพัฒน์ ให้โอกาสทางการศึกษาช่วยเหลือเยาวชนให้ได้รับทุนการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
      7. กลุ่มลูกเหรียง ช่วยเหลือเดียวยาเด็กๆจากความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
      8. Unicef รณรงค์ให้เกิดกฎหมายพัฒนาด้านสิทธิเด็กและการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีคุณค่า
      9. โครงการเงินฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยสภากาชาดไทย ในการเตรียมรับมือป้องกันบรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัยพิบัติและโรคอุบัติใหม่
      10. โครงการบำรุงสภากาชาดไทย ช่วยเหลือสภากาชาดไทยในการจัดกิจกรรมเสริมงบประมาณในการช่วยเหลือประชาชน
      11. มูลนิธิสมเด็จพระปิ่นเกล้า สมทบทุนในทางการแพทย์เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในการสร้างโรงพยาบาล
      12. ศิริราชมูลนิธิ บริการทำตาเทียมหรือตาปลอมให้กับผู้ที่สูญเสียดวงตา

นอกจากนี้ยังมีมูลนิธิเกี่ยวกับวัฒนธรรมและศาสนา พัฒนาสังคมสัตว์และสิ่งแวดล้อม โดยพวงหรีดบริจาค คุณสามารถเลือกได้ว่าจะบริจาคให้กับโครงการหรือมูลนิธิไหน เช่น ดอกไม้กระดาษสำหรับไว้อาลัยชมพูทับทิม ราคา 1,000 บาทบริจาค 100 บาท 10% ดอกไม้เบญจมาศ ราคา 2,000 บาทบริจาค 500 บาท 25% เป็นต้น

วิธีสั่งพวงหรีดออนไลน์
  1. เข้าไปที่เว็บ https://care-nation.com/ หรือแอด Line @care-nation จากนั้นเลือกพวงหรีดบริจาคที่คุณต้องการ
  2. เลือกมูลนิธิที่ต้องการบริจาค
  3. ชำระเงินและแจ้งหลักฐานการโอน
  4. ทาง Admin ทำการตรวจสอบข้อมูลให้เรียบร้อย
  5. ลูกค้าจะได้รับใบเสร็จและใบอนุโมทนาบัตร ทางร้านจัดส่งฟรีภายในพื้นที่กทม.และสมุทรสาคร พื้นที่ปริมณฑลคิดค่าส่งตามระยะทาง ส่งไวภายใน 1 วัน แต่จะต้องสั่งก่อนเวลา 15.00 น.

และนี่คือเคล็ดลับในการเลือกพวงหรีดกระจายบุญกุศลได้อุทิศผลบุญให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และเป็นการสนับสนุนคนในชุมชนให้มีรายได้เลี้ยงชีพ ส่วนพวงหรีดกระดาษก็นำมารีไซเคิลได้ ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นประโยชน์ในทุกๆด้าน