Project Description

ช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งที่ซับซ้อนด้วยอนุภาคโปรตอน สภากาชาดไทย

“สนับสนุนศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย”

ศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย นับเป็นมิติใหม่ของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียนซึ่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มุ่งมั่นที่จะเป็นศูนย์ต้นแบบในการรักษามะเร็งด้วยอนุภาคโปรตอนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อมอบการรักษาที่ดีที่สุดและเข้าถึงง่ายที่สุดให้แก่ผู้ป่วยทุกคน

ประโยชน์ในการรักษามะเร็ง ด้วยเครื่องโปรตอน

ด้วยเทคโนโลยีของเครื่องโปรตอนมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งมีทั้งกลุ่มโรคที่มีผลการศึกษาวิจัยรองรับ และกลุ่มโรคที่อยู่ในระหว่างการศึกษา ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง โรคมะเร็งที่สามารถรักษาได้ ด้วยอนุภาคโปรตอน อ้างอิงจาก ASTRO Model Policies 2017 และ JASTRO 2017 แบ่งออกเป็น

กลุ่มโรคที่มีผลการศึกษารองรับประโยชน์ของอนุภาคโปรตอน
  1. โรคมะเร็งในเด็ก (Pediatric Tumors)
  2. เนื้องอกและมะเร็งที่ฐานกะโหลกศีรษะ (Base of Skull Tumors)
  3. เนื้องอกและมะเร็งในสมองและไขสันหลัง (Brain and Spinal Tumors)
  4. โรคมะเร็งตา (Ocular Tumors) -โรคมะเร็งหูคอจมูก (Head and Neck Cancers)
  5. โรคมะเร็งตับ (Hepatocellular Cancer) – โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน (Soft Tissue)
  6. โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer) -โรคมะเร็งที่ต้องได้รับการฉายรังสี (Re-rradiation)
กลุ่มโรคที่อยู่ในระหว่างการศึกษายืนยัน ถึงประโยชน์ของอนุภาคโปรตอน
  1. โรคมะเร็งปอดและทรวงอก (Lung and Mediastinal Tumors)
  2. โรคมะเร็งทางเดินอาหาร (Gastrointestinal Malignancies) ได้แก่ โรคมะเร็งหลอดอาหาร (Esophageal Cancer) โรคมะเร็งตับอ่อน (Pancreatic Cancer) โรคมะเร็งท่อน้ําดี (Biliary Cancers)
  3. โรคมะเร็งในลําไส้ตรงและทวารหนัก (Rectal and Anal Cancer)
  4. โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Cancer)
  5. โรคมะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer)
  6. โรคมะเร็งเต้านม (Breast Cancer)